กรวยไตอักเสบ

กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) เป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ เชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยคือ อีโคไล (E.Coli) เชื้อมักเริ่มต้นจากการอักเสบในกระเพาะปัสสาวะแล้วแพร่กระจายไปที่ไต

ผู้ป่วยกรวยไตอักเสบจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลทันทีเนื่องจากการติดเชื้ออาจทำให้ไตเสียหายถาวรหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งอาจอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยใช้ยาปฏิชีวนะเป็นการรักษาขั้นพื้นฐาน

กรวยไตอักเสบ

อาการ

– มีอาการแสบเจ็บระหว่างปัสสาวะ

– มีหนองหรือเลือดปนอยู่ในปัสสาวะ (Hematuria)

– รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา

– ปัสสาวะมีกลิ่นคาว

– ปวดปัสสาวะบ่อยต้องรีบเข้าห้องน้ำ

– คลื่นไส้ อาเจียน

– เจ็บปวดบริเวณสีข้างกับปวดท้อง

– มีไข้และรู้สึกหนาวสั่น

สาเหตุ

กรวยไตอักเสบมักเกิดมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด โดยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้ออีโคไล ซึ่งมีหลายสาเหตุเช่นการอักเสบต่อเนื่องของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ บางกรณีเชื้อแบคทีเรียอาจแพร่กระจายเข้าสู่กรวยไตผ่านทางกระแสเลือดได้ ส่งผลให้เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลัน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกรวยไตอักเสบ

– เพศหญิง: ท่อปัสสาวะในผู้หญิงจะสั้นกว่าในผู้ชายทำให้เชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ความใกล้ของท่อปัสสาวะกับช่องคลอดและทวารหนักของผู้หญิงเพิ่มโอกาสที่แบคทีเรียจะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะและลุกลามไปยังไตได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อสูงขึ้น

– ทางเดินปัสสาวะอุดตัน: การไม่สามารถถ่ายปัสสาวะจนหมดจากกระเพาะปัสสาวะ หรือมีนิ่วอุดตันท่อไต เป็นปัจจัยทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

– การมีระบบภูมิคุ้มต่ำ: โรคที่ทำให้มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง โรคเบาหวานและการติดเชื้อเอชไอวี

– มีความผิดปกติของเส้นประสาทบริเวณกระเพาะปัสสาวะ: ความเสียหายต่อเส้นประสาทหรือไขสันหลัง อาจทำให้ขัดขวางสัญญาณเตือนภายในร่างกาย จนปล่อยให้มีการลุกลามของเชื้อขึ้นไปในไต

– โรคปัสสาวะไหลย้อนกลับ: ภาวะที่มีปัสสาวะไหลย้อนกลับจากกระเพาะปัสสาวะกลับไปในท่อไต มักพบอาการนี้ในวัยเด็ก

ภาวะแทรกซ้อน

– เกิดรอยแผลเป็นหรือฝีในไต อาจนำไปสู่โรคไตเรื้อรังความดันโลหิตสูงและไตวายเฉียบพลัน

– ภาวะโลหิตเป็นพิษ หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจเกิดภาวะช็อคได้ การติดเชื้อที่ไตอาจทำให้ เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด

– ปัญหาทางสูติกรรม ผู้หญิงที่เป็นโรคไตในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักที่น้อยกว่าปกติ

การรักษา

– การรับประทานยาปฏิชีวนะ แพทย์มักใช้ยาปฏิชีวนะเป็นพื้นฐานในการรักษากรวยไตอักเสบ การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะจะเป็นตัวกำหนดประเภทชนิดของยาและระยะเวลาที่ต้องใช้ยา โดยส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน2-3 วันหลังรับการรักษา ทั้งนี้ผู้ป่วยยังคงต้องรับประทานยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง 10-14 วันให้ครบตามคำสั่งของแพทย์แม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม

– การรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีภาวะไตติดเชื้อรุนแรงอาจะจำเป็นต้องฉีดยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำ ทั้งนี้ระยะเวลาในการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบ

– ผ่าตัด แพทย์อาจใช้วิธีผ่าตัดในการรักษาสำหรับผู้ป่วยกรวยไตอักเสบที่เกิดจากการอุดตันของฝีหนองหรือความผิดปกติในโครงสร้างภายในระบบทางเดินปัสสาวะอาจ ต้องตัดเนื้อไตบางส่วนทิ้งไปหากพบว่าติดเชื้อรุนแรงมาก

ที่มา

phyathai.com

bangkokpattayahospital.com

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ pdathaipalm.com